'; else if (strstr($browser,"MOZILLA")) return ''; else return ""; } $BrowserNameGet = getBrowserName(); if ($BrowserNameGet != "") { echo $BrowserNameGet; } ?> ช่วยเหลือ
การคำนวณคะแนนปลายภาค


วิธีการคำนวณคะแนนปลายภาคถูกแสดงไว้ในตารางบนหน้าจอ คะแนนปลายภาคประกอบไปด้วยน้ำหนักของส่วนประกอบห้าอย่างได้แก่

1. คะแนนที่ได้รับจากอาจารย์จากงานที่นักเรียนส่ง คะแนนนี้จะถูกใช้ก็ต่อเมื่ออาจารย์ได้ตรวจงานของนักเรียนจริง ๆ หากนักเรียนส่งงานมากกว่าหนึ่งชิ้น คะแนนที่ดีที่สุดจะถูกนำไปใช้ ในที่นี้ดีที่สุดหมายถึงงานที่ได้รับน้ำหนักมากที่สุดจากการรวมคะแนนของอาจารย์และนักเรียนที่เป็นคนตรวจผลงาน


2. คะแนนเฉลี่ยที่ได้รับจากนักเรียนสำหรับงานที่ได้ส่งไป ในกรณีนี้ก็เช่นกัน หากนักเรียนส่งงานมากกว่าหนึ่งชิ้น คะแนนที่ดีที่สุดจะถูกนำไปใช้ สามารถใช้คะแนนที่ได้จากอาจารย์มารวมด้วยได้ คะแนนที่ได้รับจากอาจารย์จะถูกนำมารวมด้วยหากจำนวนนักเรียนที่เป็นคนตรวจนั้นน้อยมาก หรือในกรณีที่มีการสงสัยว่ามีการลำเอียง (โดยปกติจะสงสัยเวลาคะแนนสูงเกินไป) หรือขาดความน่าเชื่อถือ คะแนนของอาจารย์จะได้รับ การปฏิบัติเช่นเดียวกับคะแนนของนักเรียนที่เป็นคนให้คะแนนในการคำนวณค่าเฉลี่ย


3. การลำเอียงในการให้คะแนนนักเรียนกันเอง วิธีนี้เป็นการวัดว่านักเรียนมีการให้คะแนนเพื่อนสูงเกินไป หรือต่ำเกินไปหรือเปล่า แต่ไม่ใช่วิธีการวัดสุดท้าย เนื่องจากการที่มีฐานมาจากความแตกต่างระหว่างคะแนนของตัวนักเรียน และคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนคนอื่นจากงานที่ถูกส่งให้พวกเขาตรวจ โดยรวมแล้วส่วนประกอบส่วนนี้ไม่ควรได้รับน้ำหนักสูง


4. ความน่าเชื่อถือของนักเรียนในการให้คะแนนนักเรียนคนอื่น กรณีนี้มีไว้สำหรับการวัดว่านักเรียนคนนั้นให้คะแนน ใกล้เคียงคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนคนอื่นมากแค่ไหนสำหรับงานที่พวกเขาตรวจ กรณีนี้ไม่ค่อยใส่ใจการลำเอียงมากเท่าไหร่ แต่เอาค่าเฉลี่ยระหว่างความแตกต่างระหว่างคะแนนของนักเรียนที่ให้คะแนนกับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนคนอื่นที่ให้งานชิ้นนั้น ตามทฤษฎี หากนักเรียนให้คะแนนสูงสำหรับงานที่ดี และให้คะแนนต่ำสำหรับงานที่ทำไม่ดี ความน่าเชื่อถือของนักเรียนคนนั้นจะสูง หากมีการสงสัยว่านักเรียนทุกคนโดยรวมแล้วไม่มีความสามารถในการตรวจงาน คะแนนของอาจารย์จะถูกนำไปรวมในคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนให้ การทำเช่นนี้จะทำให้ค่าของความน่าเชื่อถือมีคุณค่ามากขึ้น

5. คะแนนเฉลี่ยที่อาจารย์เป็นคนให้สำหรับการประเมินผลงานของนักเรียนคนอื่นโดยตัวนักเรียนเอง รวมไปถึงการประเมินเบื้องต้น โดยการให้นักเรียนลองประเมินงานตั่วอย่าง กับคะแนนที่อาจารย์ให้ในระยะเวลาการประเมินงานโดยนักเรียนกันเอง โดยทั่วไปส่วนประกอบ นี้อาจมีความสำคัญมากกว่าทั้งส่วนของการลำเอียงและความน่าเชื่อถือ และหากมีคะแนนตัวนี้คะแนนตัวนี้น่าจะมีน้ำหนักสูงกว่า
น้ำหนักของส่วนประกอบทั้งห้านี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของงาน ตัวอย่างเช่นคะแนนของอาจารย์อาจได้รับน้ำหนักมากขึ้น หากคะแนนที่นักเรียนประเมินกันเองนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบที่เล็กสำหรับการให้คะแนนของงานนั้น ในทางตรงกันข้าม หากอาจารย์ได้ตรวจเพียงงานไม่กี่ชิ้น คะแนนจากอาจารย์จะถือว่าไม่มีค่าโดยไม่ให้น้ำหนักเลย ในกรณีที่กระบวนการนั้นให้ความสำคัญเฉพาะกับการที่นักเรียนเป็นผู้ตัดสิน และความคิดเห็นของพวกเขาเกี่ยวกับงานแต่ละชิ้น หากเป็นเช่นนั้น ส่วนประกอบสองอย่างแรกจะไม่มีน้ำหนัก (หรือมีน้อย) และความสามารถ ในการให้คะแนนจะเป็นสิ่งที่กำหนดคะแนนปลายภาคของพวกเขา

หมายเหตุ จอนี้ถูกใช้ซ้ำ ๆ และโดยปกติแล้วนักเรียนจะไม่ทราบคะแนนปลายภาคจนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ เด็กจะทราบคะแนนได้ต่อเมื่ออาจารย์พอใจกับคะแนนปลายภาค และน้ำหนักของคะแนน


หน้าแรกของไฟล์ช่วยเหลือทั้งหมด
Show this help in language: English

ฝ่ายนวัตกรรมและสื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ชั้น 1 อาคารอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา
113 ม.12 ถ.ร้อยเอ็ด-โพนทอง ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120 โทร. 043-556001-8 โทรสาร. 043-556009

Designed by Bordin