'; else if (strstr($browser,"MOZILLA")) return ''; else return ""; } $BrowserNameGet = getBrowserName(); if ($BrowserNameGet != "") { echo $BrowserNameGet; } ?> ช่วยเหลือ
องค์ประกอบของงาน

เพื่อที่จะทำให้การให้คะแนนนั้นง่ายขึ้น งานฝึกภาคปฏิบัติควรจะมีองค์ประกอบของการประเมินมากพอสมควร แต่ละองค์ประกอบควรจะครอบคลุมแต่ละส่วนของงาน โดยทั่วไปแล้วงานชิ้นหนึ่งจะมีระหว่าง 5 ถึง 15 องค์ประกอบสำหรับการแสดงความคิดเห็น การให้คะแนน จำนวนที่แท้จริงจะขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของงานชิ้นนั้น งานที่ให้นักเรียนกันเองเป็นคนตรวจโดยที่มีองค์ประกอบแค่อย่างเดียวก็ได้รับการอนุมัติ และมียุทธศาสตร์ในการประเมินผลงานคล้าย Moodle ประเภทขององค์ประกอบนั้นขึ้นอยู่กับยุทธ์ศาสตร์ในการประเมินผลงาน

ไม่มีการให้คะแนน สำหรับประเภทนี้องค์ประกอบจะเป็นสิ่งที่อธิบายลักษณะของงาน คนที่ทำหน้าที่ประเมินจะถูกขอให้ออกความเห็นเกี่ยวกับลักษณะแต่ละอัน และจะมีพื้นที่สำหรับการออกความเห็นทั่ว ๆ ไปเหมือนการให้คะแนนวิธีอื่น

การให้คะแนนแบบสะสม มีองค์ประกอบสามอย่างต่อไปนี้

1. คำอธิบายลักษณะขององค์ประกอบที่ใช้ประเมินผลงาน คำอธิบายนั้นควรจะบอกอย่างชัดเจนว่าองค์ประกอบใดของงานที่กำลังถูกประเมินอยู่ จะช่วยมากทีเดียวถ้ามีการอธิบายคุณสมบัติเช่นอะไรถึงจะถือว่า เยี่ยม ปานกลาง เลว หากเป็นการประเมินในเชิงคุณภาพ
2. มาตรฐานการให้คะแนนสำหรับแต่ละองค์ประกอบ มีมาตรฐานการให้คะแนนแบบ prefined มากพอสมควร มีตั้งแต่แบบง่าย แบบ multipoint ไปจนถึงการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ มาตรฐานการให้คะแนนที่เหมะสมสำหรับแต่ละองค์ประกอบควรจะถูกเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนที่องค์ประกอบตัวนั้นสามารถผันแปรได้
หมายเหตุ มาตรฐานการให้คะแนนนั้นไม่สามารถตัดสินความสำคัญขององค์ประกอบตัวนั้นได้เมื่อต้องคำนวณคะแนนโดยรวม มาตรฐานการให้คะแนนที่มีเพียงสองคะแนนมีอิทธิพลเท่ากับมาตรฐานการให้คะแนน 100 คะแนนหากทั้งสองได้รับน้ำหนักที่เท่ากัน
3. นํ้าหนักของแต่ละองค์ประกอบ ปกติแล้วแต่ละองค์ประกอบจะได้รับความสำคัญเท่ากันเวลาถูกนำมาใช้คำนวณคะแนนรวม แต่สิ่งนี้สามารถเปลี่ยนได้โดยการเพิ่มน้ำหนักให้สูงกว่า 1 แก่องค์ประกอบที่สำคัญกว่า และลดน้ำหนักกับองค์ประกอบที่ไม่สำคัญให้เหลือน้อยกว่า 1 การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักนั้นไม่มีผลกระทบต่อคะแนนสูงสุด คะแนนสูงสุดนั้นเป็นคะแนนตายตัวที่ถูกกำหนดโดย Maximum Grade parameter (กรอบคะแนนสูงสุด) ของการที่ให้นักเรียนตรวจงานให้กันเอง น้ำหนักนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นเลขลบได้ซึ่งเป็นลักษณะของการทดลอง

การให้คะแนนโดยรวมข้อผิดพลาดเป็นหมู่ โดยปกติองค์ประกอบจะสามารถบอกลักษณะบางสิ่ง เกี่ยวกับรายการพวกนี้ หรือสิ่งที่ควรจะมีในงานชิ้นนั้น การให้คะแนนนั้นขึ้นอยู่กับการที่งานนั้นมีหรือขาดรายการอย่างนั้น อาจารย์จำเป็นที่จะต้องทำตารางคะแนนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนคาดเดาของนักเรียน ในกรณีที่มีทุกสิ่งครบ ขาดไปสิ่งหนึ่ง ขาดไปสองอย่าง ๙ล๙ หากมีบางสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าอันอื่น สิ่งพวกนี้สามารถได้รับน้ำหนักมากกว่า 1 ในขณะที่รายการที่ไม่สำคัญ เท่าอาจได้รับน้ำหนักน้อยกว่า 1 คะแนนโดยรวมของการนับข้อผิดพลาดนั้นเป็นน้ำหนักรวมของรายการที่หายไป ผู้ที่มีหน้าที่ประเมินผล สามารถเปลี่ยนแปลงคะแนน ที่เด็กสามารถได้รับเล็กน้อย

การให้คะแนนตามเกณฑ์ องค์ประกอบนั้นจะมีชุดประโยค ที่เกี่ยวกับระดับซึ่งสามารถนำไปใช้ในการให้คะแนนผลงาน เรียงลำดับแก่งาน ประโยคพวกนี้อาจเป็นการสะสม หรืออาจเป็นแค่ตามที่ประโยคนั้นว่าไว้ ผู้ที่รับหน้าที่ประเมินจะต้องเลือกว่าประโยคไหนเหมาะสมกับงานชิ้นได อาจารย์ก็ควรที่จะต้องหาเก็ณฑ์ประโยค ที่สัมพันธ์กับคะแนนคาดเดาของนักเรียน สิ่งนี้ควรจะถูกเรียงตามลำดับ ผู้ที่ประเมินนั้นสามารถปรับเปลี่ยนคะแนนคาดเดานั้นได้เล็กน้อย

หน้าแรกของไฟล์ช่วยเหลือทั้งหมด
Show this help in language: English

ฝ่ายนวัตกรรมและสื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ชั้น 1 อาคารอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา
113 ม.12 ถ.ร้อยเอ็ด-โพนทอง ต.เกาะแก้ว อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120 โทร. 043-556001-8 โทรสาร. 043-556009

Designed by Bordin